วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตดูงานครูบาสุทธินันท์

การศึกษาดูงานครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์  มหาชีวาลัยอีสาน
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต รุ่น 1
วันที่ไปศึกษาดูงาน 5 กุมภาพันธ์ 2557 ปีการศึกษา 2/ 2556

เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมาผู้บริหาร คณาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย นำคณะนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต รุ่น 1 ไปศึกษาดูงานระบบบริการสาธารณสุขในประชาคมอาเซียน ณ มหาชีวาลัยอีสาน 

ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  เป็นปราชญ์ชาวบ้านอีกผู้หนึ่งที่ทำเกษตรประณีตเพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ แก่เกษตรกร  มหาชีวาลัยอีสานของครูบาสุทธินันท์นอกจากมีแปลงเกษตรประณีต 1 ไร่  ยังมีกิจกรรมในพื้นที่อีก อาทิเช่น แปลงสมุนไพร สวนป่ายูคาลิปตัส โรงเผาถ่าน บ่อเลี้ยงปลา โรงเรือนเลี้ยงวัว เลี้ยงนกกระจอกเทศ เลี้ยงไก่ ไปจนถึงเลี้ยงปลวก ต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  จากไม้เป็นบ้าน ไม้เป็นถ่าน ใบยูคาลิปตัสเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเห็นได้ว่าความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด  เริ่มจากมีการจัดการความรู้ที่ดีในพื้นที่น้อยแล้วสามารถอยู่ได้  ก็สามารถพัฒนาไปสู่ความรู้อื่นๆ ได้อีกมาก  ซึ่งความรู้วิธีการเป็นเพียงส่วนหนึ่ง  แต่แก่นสำคัญอยู่ที่วิธีคิด

ณ โอกาสนี้ ปราชญ์ชาวบ้านคนสำคัญคือ ท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤกษ์ ได้ให้ความรู้กับนักศึกษาเป็นอันมาก ท่านกล่าวว่า นักศึกษารุ่นใหม่ออกแสงปราบยาก การเข้าสู่ AEC ไทยนั้นเล็กมาก สู้เขาไม่ได้ จีนระเบิดน้ำโขง ขนของข้ามโขงมาขายทางเชียงแสนถูกมาก ส่วนไทยเด็กผู้ชายไม่เรียนต่อ 80 %เป็นเด็กผู้หญิงเรียน เกษตรกรโดนยึดอาชีพ เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ ปลูกพืชไม่ได้ ต้องเข้าสู่อาชีพกรรมกรราคาถูก เกษตรพอเพียงเสียเงินอบรมเป็นหมื่นล้านก็ไม่เข้าใจ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา 

อาหารก็มีแต่พิษ ส่งไป EU ตีกลับมาทำลูกชิ้น ถ้าไม่ปลูกเองก็เชื่อได้ยากว่าปลอดสาร คนทุกวันนี้อายุ 30-40 ปี ก็ตายเผาทุกวัน อุตสาหกรรมเต็มไปด้วยพิษ เกิดโรคทางสังคมที่พลิกแพลงให้ต้องตั้งรับ คนไทยไม่รักตัวเองไม่ตรวจสุขภาพกลัวเจอโรค เครียดสูง สังคมปนเปื้อนทุกหย่อมหญ้า 

ที่ จริงทำไม่ยาก แต่คนไม่รักตนเอง จากการสะสมวิธีคิดห่วยแตก(ขออภัย) แต่ก็โทษเขาไม่ได้เพราะสังคมนั่นแหละที่สั่งสอนรวมไปถึงการศึกษาที่ล้มเหลว 

การแก้ปัญหาสถานการณ์ ขาดปุ๋ย แทนที่จะซื้อแม่ไก่มาเป็นร้อยตัว คิดวิธีแก้โดยซื้อแม่พันธ์ุมาผสมเอง ขี้ไก่เอามาใส่พืช ไข่ไว้กินไว้ขาย ก็เป็นวิธีที่ดี ประหยัด

สุขภาพ ดีได้โดยปรับพฤติกรรมการกิน ลดเนื้อสัตว์ กินผัก น้ำหนักลด สุขภาพดีขึ้น เพราะการแลกเปลี่ยนความรู้กันโดยหมอจากอินเดียมาแนะนำ พอเราสงสัย มีคำถาม หรือทดลองทำอะไร แลกเปลี่ยนลงไปในเฟซบุ๊คก็จะมีคนมาตอบมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันเสื้อ ของกิน ความรู้ เช่น เรื่องการทำถ่านไบโอชา คือเอาไม้มาเผา700 องศาเซลเซียส แล้วเอาไปเสียบลงดินใกล้ๆกับโคนต้นไม้ ต้นไม้จะโตเร็วมาก 

 หากผู้ใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  มหาชีวาลัยอีสาน (สถาบันภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน) 34 บ้านปากช่อง ต.สนามชัย อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 31150 โทรศัพท์ 044-782313  โทรสาร 044-681220


















ภาพโดย ดร.อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์
บรรยายโดย อ.ฐานิกา บุษมงคล
อ้างอิง
1. บันทึกของ อ.ฐานิกา บุษมงคล
2. เกษตรกรรมประณีตของครูบาสุทธินันท์ http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=1002&Itemid=58

ความเห็นของศิษย์เก่า

ความเห็นของศิษย์เก่า

ความเห็นของมหาบัณฑิต

บัณฑิตคุณภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
(คุณPacharawit Chansirisira)

กระผมขอขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ทุกท่านที่คอยแนะนำช่วยเหลือให้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทและขอบคุณพี่น้องพ้องเพื่อนทุกคนที่เป็นกำลังใจคับ
(คุณครู ผ้าด้าม)

วันนี้ไปยื่นขอจบการศึกษาแล้วครับ.....ขอกราบขอบพระคุณวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย คุณหมอกระแส ท่านอธิการบดีกษม ดร.อาทิตย์และคณาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์แก่กระผมและผองเพื่อนกลุ่มเมืองพลมาโดยตลอด พวกผมเรียกได้ว่า
"มีวันนี้เพราะที่นี่ให้ จบอย่างไม่อายใคร ภาคภูมิใจและสมศักดิ์ศรี"
(คุณเชาวรินทร์ แก้วพรม)

ตอบเต็มเสียงได้เลยว่า "จบจากวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย"
(คุณKai Thamkaew)

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจมาโดยตลอด หลายต่อหลายครั้งที่ท้อแท้ เหน็ดเหนื่อย แต่ก็มีกำลังใจ เพียงข้อความสั้นๆหรือคำพูดไม่กี่คำ แต่มันคือเชื้อเพลิงเติมแรงใจให้วิ่งไปข้างหน้าจนมาถึงวันนี้ อยากบอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่สถาบันให้ความรู้แต่เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่งถึงไม่ใช่บ้านหลังใหญ่แต่มีความอบอุ่นที่ได้มาอยู่บ้านหนังนี้ นี่คือความรู้สึกจริงกลั่นมาจากก้นบึ้งของหัวใจ หลังจากจบจากที่นี่คงมีโอกาสได้เจอกันน้อยลง แทนคำขอบคุณให้พี่ๆและอาจารย์ทุกท่านค่ะ
(คุณSriudom Sudarut )

ผมอยากบอกกับนักศึกษาทุกคนว่า ผมภูมิใจที่จบจากบัณฑิตเอเซีย
(คุณChoochart Phimga )

Historical of CAS .

Historical of CAS .
CAS was founded by Prof. Dr.krasae Chanawongse, a recipient of the Ramon Magsayay award for community Leadership in 1973.Locate at 179/137 Prachasmosorn RD., Nai Muang Subdistrict,Muang district,Khon kaen City . CAS grown very fast, At the beginning in 2002,start with the Bachelor level in the Faculty of Business Administration but now was grown to 5 Bachelor degree in the business administration,liberal arts, law, nursing, and information technology fields and 3 Master degree in Business administration and Education administration and Public health. Dr. Kasom Cannawongse, President.

Professor Krasae Chanawongse said.

Professor Krasae Chanawongse said.
SAMURAI must NO FEAR, NO SURPRISE,NO DOUBT, NO HESITATE . หมายถึง ถ้าได้รับมอบหมายหรือ ตัดสินใจทำอะไร ก็ต้องทำให้สำเร็จ โดยปราศจากความกลัว ความประหลาดใจ ความสงสัย และความลังเล เฉกเช่นซามูไร เมื่อได้รับภารกิจแล้วต้องทำให้สำเร็จแม้ตัวตาย ท่านยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า เหมือนกับเราได้รับมอบหมายงานให้ทำ ก็ต้องทำ โดยไม่มีคำว่า"กลัวไม่สำเร็จ(no fear)" ไม่รู้สึกประหลาดใจ(no surprise)ที่มีคนดูถูกว่า อย่างคุณคงทำไม่สำเร็จ "ไม่สงสัย(no doubt)"ว่า ทำไมให้เราทำ ทำแล้วจะสำเร็จหรือไม่ และสุดท้าย เมื่อตัดสินใจแล้ว จงทำโดย"ไม่ลังเล(no hesitate)"

รวมบทความทั้งหมด

ค้นหาบทความบล็อกนี้